Welcome To My Blog Thawaranukul

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กฎหมายทะเบียนราษฎร์

กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนดระเบียบปฏิบัติในการแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้านพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายสำคัญที่กำหนดระเบียบปฏิบัติ การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเกี่ยวข้องกับตนเองและสังคมเป็นอย่างมาก เมื่อคนเกิดมาจะต้องทำอย่างไร เป็นหน้าที่ของใครที่จะแจ้งเกิด ไปแจ้งที่ไหน หรือเมื่อมีคนตายผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติอย่างไร เมื่อต้องการย้ายที่อยู่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างไร

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

                                          
รูปแบบการปกครองของไทยในปัจจุบัน
การปกครองในประเทศไทยของเรานั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งมีกฎหมายสูงสุด คือรัฐธรรมนูญ และมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขของประเทศ
อ่านต่อ

โครงงานเศรษฐกิจพอเพียง



















โครงงานเศรษฐกิจพอเพียง เราได้นำตัวอย่างโครงงานเศรษฐกิจพอเพียงต่างๆ มารวมไว้ให้ทุกท่านที่สนใจได้ศึกษา วิธีการเขียนโครงงานเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนโครงงาน โดยคร่าวๆ อาจศึกษาได้จากโครงงาน ดังต่อไปนี้




วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

วัฒนธรรมไทย
ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของวัฒนธรรม

ความหมายของวัฒนธรรม
              โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอดสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตสร้างขึ้นเพื่อความเจริญงอกงาม ในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม วัฒนธรรมคือ วิถีทางแห่งชีวิตมนุษย์ ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้ เรียกกันได้ เอาอย่างกันได้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นไว้เพื่อนำเอาไปใช้ช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ในสังคม ซึ้งจะรวมถึงช่วยแก้ปัญหาและช่วยสนองความต้องการของสังคม
ความสำคัญของวัฒนธรรม
           
             1) วัฒนธรรมเป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคมมนุษย์ วัฒนธรรมไทยเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมไทย ให้มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนรวมถึงผลของการแสดงพฤติกรรมตลอดจนถึงการสร้างแบบแผนของความคิด ความเชื่อ และค่านิยมของสมาชิกให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน

              2) วัฒนธรรมทำให้เกิดความสามัคคีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สังคมที่มีวัฒนธรรมเดียวกันย่อมจะมีความรู้สึกผูกพันเดียวกัน เกิดความเป็นปึกแผ่น จงรักภักดีและอุทิศตนให้กับสังคมทำให้สังคมอยู่รอด

              3) วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน เช่น รูปแบบของครอบครัวจะเห็นได้ว่าลักษณะของครอบครัวแต่ละสังคมต่างกันไป ทั้งนี้เนื่องจากวัฒนธรรมในสังคมเป็นตัวกำหนดรูปแบบ เช่น วัฒนธรรมไทยกำหนดเป็นแบบสามีภรรยาเดียว ในอีกสังคมหนึ่งกำหนดว่าชายอาจมีภรรยาได้หลายคน หรือหญิงอาจมีสามีได้หลายคน ความสัมพันธ์ทางเพศก่อนแต่งงานเป็นสิ่งที่ดีหรือเป็นเรื่องขัดต่อศีลธรรม

              4) วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหา และสนองความต้องการของมนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตภายใต้สิ่งแวดล้อมได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นมนุษย์ต้องแสวงหาความรู้จากประสบการณ์ที่ตนได้รับการประดิษฐ์คิดค้นวิธีการใช้ทรัพยากรนั้นให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและถ่ายทอดจากสมาชิกรุ่นหนึ่งไปสู่สมาชิกรุ่นต่อไปได้โดยวัฒนธรรมของสังคม

              5) วัฒนธรรมช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า หากสังคมใดมีวัฒนธรรมที่ดีงามเหมาะสม เช่น ความมีระเบียบวินัย ขยัน ประหยัด อดทน การเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว เป็นต้น สังคมนั้นย่อมจะเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

              6) วัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ คำว่า เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะพิเศษหรือลักษณะเด่นของบุคคลหรือสังคม ที่แสดงว่าสังคมหนึ่งแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง เช่น วัฒนธรรมการพบปะกันในสังคมไทย จะมีการยกมือไหว้กันแต่ในสังคมญี่ปุ่นใช้การคำนับกัน เป็นต้น

ประเภทของวัฒนธรรม
มีการจำแนกเป็น 2 แนวคิด ดังนี้
              - แนวคิดที่ 1 ตามหลักด้านสังคมวิทยา
              - แนวคิดที่ 2 ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2585 แนวคิดที่ 1 แบ่งประเภท วัฒนธรรมตามหลักทางด้านสังคมวิทยา ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากสังคมโดยทั่วไป แบ่งได้ 2 ประเภท ตามลักษณะสภาพสังคมในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้จะต้องสอดคล้องเป็นเหตุ เป็นผลต่อกัน แต่รูปแบบที่มีลักษณะสวนทางกันซึ่งแนวคิดนี้จำแนกเป็น

               1. วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material Culture) หมายถึง วัฒนธรรมด้านรูปธรรมที่สามารถสัมผัสได้ มีรูปร่าง จากสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ผลิตขึ้นมาใช้ในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร บ้านเรือน ยารักษาโรค เครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น

                2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ (Non material Culture) หมายถึง วัฒนธรรมด้านนามธรรมที่ไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น ภาษา ความคิด ค่านิยม ถ้อยคำที่ใช้พูด ถ้อยคำที่ใช้พูด ประเพณี ความเชื่อที่มนุษย์ยึดถือ เกี่ยวกับศาสนา ลัทธิทางการเมือง วัฒนธรรมประเภทนี้บางครั้งรวมเอากติกาการแข่งขันกีฬา แนวคิดเกี่ยวกับ ยุทธวิธีของผู้แข่งขัน และการดูการแข่งขันไว้ด้วย โดยทั่วไปแล้วการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจะต้องเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ทั้งวัฒนธรรมทางวัตถุและ วัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ แต่ถ้าวัฒนธรรมทั้งสองส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน ก็จะทำให้เกิด ภาวะวัฒนธรรมล้า (Culture Lag) ส่วนใหญ่วัฒนธรรมทางวัตถุมักเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าวัฒนธรรมที่ไม่ใช้วัตถุ เช่น สังคมไทยเรารับเอาความเจริญทางวัตถุจากตะวันตกมาใช้ ทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ แต่ส่วนใดที่ไม่ใช้วัตถุ เช่น เรื่องระเบียบวินัย ความรับผิดชอบลักษณะนิสัยการทำงาน ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด ยังเปลี่ยนแปลงช้ากว่าส่วนที่เป็นวัตถุ จึงทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัยหา จราจร ปัญหาอาชญากรรม หรือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น